วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทัศนคติบอด

ชนะโทรไปบริษัทนี้เป็นหนที่สองในรอบสัปดาห์นี้
บริษัทนี้เป็นลูกค้ารายใหม่ที่เขากำลังติดตามเรื่องอยู่
เสียงของโอเปอร์เรเตอร์ซึ่งรับสายด้วยเสียงที่เป็นมิตร
และอ่อนโยนกล่าวว่า
' สวัสดีคะ บริษัทเอบีซีอิงค์ ยินดีต้อนรับคะ '
คุณชนะ กล่าวว่า ' ผมขอเรียนสายกับคุณสมจิต
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หน่อยครับ '
โอเปอร์เรเตอร์กล่าวทักขึ้นมาว่า ' นั่นคุณชนะใช่ไหมคะ'
ชนะรู้สึก แปลกใจความสามารถในการจดจำเสียงของพนักงานคนนี้ได้
เขากล่าวตอบด้วยเสียงที่เต็มไปด้วยความประทับใจ
' ใช่แล้วครับ ขอบคุณที่จำได้ครับ ' เธอกล่าวว่า
' ยินดีคะ ดิฉันจะโอนสายให้นะคะ '

หลังจากที่ชนะสนทนาเรื่องงานกับสมจิตจบ
ชนะจึงถามสมจิตขึ้นมาว่า ' คุณสมจิต ผมขอชม
พนักงานรับโทรศัพท์ของคุณหน่อยครับ
เธอเก่งจริงๆเลยที่จำเสียงผมได้
เป็นการ ให้บริการที่เกินความคาดหวังของผมจริงๆเลยครับ
ผมเองไม่ได้เป็นลูกค้าประจำ และก็ไม่ได้โทรมาบ่อยๆ
ขนาดที่เธอจะจำเสียงผมไ! ด้ด้วย เธอมีเคล็ดลับอะไรครับ '

สมจิตพูดว่า ' เธอชื่อเรณูคะ เธอได้รับคำชมอย่างนี้บ่อยๆ
หากคุณฟังเรื่องของเธอมากขึ้นกว่า นี้คุณจะ ยิ่งประทับใจ
สนใจฟังไหมละคะ'

ชนะรีบกล่าวตอบด้วยความกระตือรือร้นว่า
' สนใจสิครับ ช่วยกรุณาเล่าให้ฟังหน่อยครับ '

สมจิตเริ่มต้นเล่าอย่างอารมณ์ดี ' คุณเรณูเธอตาบอดคะ
เธอจึงต้องอาศัยการ ฟังเพียงอย่างเดียว
ทำให้! เธอสามารถจดจำชื่อคนได้ดี
เธออาศัยอยู่ที่ สมุทรปราการและมาทำงานที่ออฟฟิศนี่
ซึ่งอยู่แถวดอนเมือง ซึ่งถือว่าไกลมากโดยเฉพาะสำหรับเธอ
ซึ่งต้องเดินทางโดยรถ เมล์เหมือนคนปกติ
ส่วนใหญ่ ก็ จะมีคนตาดีอย่างพวกเราที่คอยช่วยดูสายรถเมล์
และส่งเธอขึ้นรถให้ เธอไม่เคยมาสายเลย
และก็ไม่เคยเรียกร้อง ขอรถรับส่งแต่อย่างใด
ไม่เหมือนพนักงานปกติของพวกเราหลายคน
ตอนที่เราย้ายสำนัก งานจากในเมือง ต้องขอรถรับส่งให้ด้วย
แถมหลายๆคนที่มีรถ ส่วนตัวก็ยังมาทำงานสาย
พร้อมกับเหตุผลสารพัด คิดแล้วอายแทนคนตาดีเลยคะ '

เธอหยุดเว้นจังหวะสักครู่ก่อนจะเล่าต่อว่า
' คุณเรณูมีทัศนคติที่ ดีมากๆกับงานของเธอ
เธอเคยเล่าให้ดิฉันฟังว่าสำหรับเธอแล้วการรับ โทรศัพท์ไม่ใช่งานแต่มันคือชีวิต เงินเดือนที่บริษัทให้กับเธอ ทำให้เธอสามารถเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้อย่างดี นอกจากนี้เธอยังมีเงินเหลือกว่าครึ่งสะสมไว้อีก ที่จริงแล้วเพื่อนคนตาดีหลายคนเคยหยิบยืมจากเธอในยามฉุกเฉิน

คุณเรณูกล่าวว่าบริษัทเรา เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และสังคมมอบโอกาสให้เธอได้พิสูจน์ว่าเธอมีคุณค่าและสามารถมีส่วนร่วมสร้าง สรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมได้ เธอบอกว่า เธอพยายามทำงานของเธออย่างสุดความสามารถ ซึ่งรวมทั้งพยายามจำชื่อของผู้ที่โทรเข้ามาด้วย

เธอบอกว่าทุกคืนก่อนเข้านอน เธออยากรีบนอนไวๆ
เพื่อจะได้รีบตื่นข ึ้นมาทำงาน เธออดใจรอจะมาทำงานไม่ไหว
แหมอย่าหาว่าดิฉันบ่นเลยคะ แต่พวกตาดีๆอย่างพวกเรากลับภาวนา
ให้ถึงวันหยุดเร็วๆเสียนี่กระไร' สมจิตจบเรื่องด้วยเสียงหัวเราะเบาๆอย่างคนอารมณ์ดี

เมื่อชนะมาเล่าเรื่องนี้ให้กับผมฟังในรถระหว่าง ที่เราเดินทางไปพบลูกค้าที่นวนคร
ผมจึง เสริมความเห็นของผมไปว่า ' เราน่าจะเล่าเรื่องนี้ให้คน ที่มาเข้าอบรม กับเราฟังบ้างนะ
บ่อยครั้ง เรามักจะได้ยินคนบ่นว่างานหนัก หรือ ไม่ก็ปัญหาเรื่องงานมีมาก
สิ่งที่คุณเรณูมีแตกต่างกับเรา ไม่ใช่ว่าเธอตาบอดหรอกครับ ความจริงพวกเราต่างหากที่บอด
เราทัศนคติบอดไงละ เราได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆมากมาย จากนายจ้างจนเคยชิน
กระทั่งมองไม่เห็นคุณ ค่าของสิ่งเหล่านั้น

ยิ่งนานวันเรายิ่งเรียกร้องมากขึ้นโดยเฉพาะช่วง ปลายปีแบบนี้
ในขณะที่คุณเรณูกลับมองแตกต่างกับเราอย่างสิ้น เชิง
บางคนเบื่องานจนอยากลาออกไปอยู่กับบ้านเฉยๆ

มัน ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของ Dr. Denis Waitley
ผู้แต่งหนังสือขายดี ชื่อ 'The psychology of winning'
เขายกรายงานวิจัยในอเมริกาที่ บอกว่าผู้เกษียณอายุออกจากงานไป
โดยไม่มีภาระกิจอะไร ทำมีอายุเฉลี่ยเพียงแค่เจ็ดปีเท่านั้น พวกเขาตายเพราะความรู้สึก
ด้อยคุณค่า หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าเฉาตายนั่นเองครับ

เรา บางคนมีโอกาสได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองรักในขณะที่คนจำนวนมาก
ไม่มีโอกาสอย่างนั้น อย่างไรก็ตามเรามีสิทธิที่จะเปลี่ยนมุมมองโดย
หันมารักและหลงไหลในสิ่งที่เราทำได้ โดยไม่ต้องรอให้ตาบอดแบบคุณเรณูก็ได้ '

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น