เห็ดหอม...ระวัง!! มหันตภัย (dry mushroom)
โดยสรุป......เขาชุบหรือพ่น "คาร์บอนไดซัลไฟด์" ซึ่งมีมหันตภัยรอบด้าน
อย่านำน้ำแช่เห็ดหอมมาใช้ในการปรุงอาหาร ให้เททิ้งทันทีอย่าเสียดาย
ซึ่งส่วนใหญ่เห็ดหอมที่ใช้กันนั้นนำเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่
เมื่อจะนำมาปรุงอาหารก็ต้องแช่น้ำให้นิ่มก่อน
ซึ่งน้ำที่แช่ให้เห็ดหอมนิ่มนั้น จะอุดมไปด้วยสารหนัก
กรดเกลือกำมะถันต่างๆ และอื่น ๆ ซึ่งเราไม่ทราบว่าใช้อะไรบ้างกว่า
จะถึงมือเรา ซึ่งสารต่าง ๆ นั้นก็มาจากน้ำจากปุ๋ยที่เพาะเลี้ยงในฟาร์ม
หรือรม เพื่อกำจัด และป้องกันแมลง) แต่ก่อนเรามักจะเก็บน้ำนั้นไว้
ปรุงอาหารให้หอมน่ากิน
จงเททิ้งไป ..บอกต่อให้แม่ๆ แม่บ้าน แม่ครัว ภรรยา ลูกสาว..รวมทั้งพ่อบ้าน
ที่ชอบทำอาหารฯ ถึงว่าตอนหลังซื้อมาเก็บได้นานๆ ไม่มีแมลงใดๆมารบกวนเลย
คาร์บอนไดซัลไฟด์ มหันตภัยรอบด้าน
"คาร์บอนไดซัลไฟด์" ชื่อนี้คนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยเรยอน แผ่น
พลาสติกเชโลเฟน ผลิตภัณฑ์ยางพารา จะมีโอกาสสัมผัสคาร์บอนไดซัลไฟด์เป็น
นอกจากนั้นเนื่องจากคุณสมบัติในการละลายไขมันได้ดี จึงมีการนำไปใช้ในการสกัด
น้ำมัน ใช้ในการชุบโลหะ เป็นตัวล้างสนิมออกจากโลหะ ในภาคการเกษตรเคยมี
การใช้เพื่อรมเมล็ดธัญพืชเพื่อกำจัดแมลง ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะเลิกใช้ไปแล้ว
ลักษณะของคาร์บอนไดซัลไฟด์ เป็นของเหลวกลิ่นหอมคล้ายคลอโรฟอร์ม ไอของ
มันหนักกว่าอากาศ 2 เท่า ดังนั้นในที่อากาศนิ่ง ๆ คาร์บอนไดซัลไฟด์จะลอยต่ำ
เรี่ยๆพื้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่คนจะสูดไอเข้าไป ไอระเหยของมันเมื่อพบกับ
อากาศจะให้ไอผสมที่ระเบิดได้ และลุกติดไฟได้อย่างรวดเร็ว จึงมีอันตรายมาก
เมื่อถูกความร้อน เปลวไฟ หรือประกายไฟ ความร้อนของหลอดไฟฟ้าที่เปิดอยู่ก็
ทำให้ไอของมันลุกติดไฟได้
และสลายเป็นควันของซัลเฟอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นอันตรายยิ่งขึ้น
ข้อควรระวังอย่างยิ่งคืออย่าเก็บคาร์บอนไดซัลไฟด์ไว้ใกล้กรดไนตริก เพราะก๊าซ
ที่ผสมกับไนตริกออกไซด์ จะระเบิดอย่างรุนแรง ขนาดขวดแก้วแตกละเอียดเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะสูดดมเข้าไป หรือซึมเข้าไปทางผิวหนัง หรือกลืนกิน ผลต่อสุขภาพที่ถูก
กระทบคือระบบประสาท จะเกิดอาการตื่นเต้น มึนเมาตามด้วยอาการง่วงซึม กระสับ
กระส่าย ระบบหายใจล้มเหลว อาจถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นการสัมผัสแบบระยะยาวที
ละน้อย อาการพิษเรื้อรัง จะเริ่มด้วยอาการเจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ สายตาเริ่มมัว
ความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนไปคล้ายคนเป็นโรคจิต ที่เคยกล้าๆ
อาจจะกลายเป็นคนขี้อายไปก็ได้ สารนี้ระคายผิวและตาอย่างรุนแรง
คาร์บอนไดซัลไฟด์เป็นสารอันตราย จึงเป็นสารที่ถูกควบคุม และในประกาศกระทรวง
มหาดไทยว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม ได้กำหนด
ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ ตลอดระยะเวลาในการทำงานโดยเฉลี่ย
ห้ามเกิน 20 ส่วนในล้านส่วน ที่ใดมีการใช้สารเคมีตัวนี้ ควรดูแลความปลอดภัย
ของคนงานให้ดี อย่าให้มีไอระเหยในบรรยากาศของห้องทำงานเกิน
ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น