วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เปิดโฉมสุดอลังการ..ถ้ำลอดเซบั้งไฟในลาว

ปากทางที่สวยงามอลังการ ทีมงานต้องนั่งเรือคะยักพายตามน้ำเข้าสู่ภายใน จากที่นี่ไป 9.6 กิโลเมตรจนสุดทาง ขณะที่บางส่วนต้องเดินสำรวจ
ทีมนักสำรวจได้เดินทางไปยังถ้ำลอดเซบั้งไฟ ในแขวงคำม่วน ของลาว และได้เปิดเผยความงดงามอลังการที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมาในดินแดนของลาวเมื่อนับหมื่นปีก่อน


ผลงานการสำรวจซึ่งมีขึ้นเมื่อต้นปีนี้ถูกตีพิมพ์บนเว็บไซต์นิตยสารแนชั่นแนลจีโอกราฟิก (National Geographic) และ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ สัปดาห์ที่แล้วถึงแม้ว่านักท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคนี้ รวมทั้งชาวลาวกับชาวไทยจำนวนไม่น้อยจะรู้จักถ้ำลอดทางน้ำไหลแห่งนี้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีการสำรวจอย่างจริงจัง และนำภาพถ่ายความงดงามอลังการออกสู่สายตาชาวโลกมาก่อน เท่าที่มีการบันทึกเอาไว้ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบถ้ำลอดแห่งนี้ในปี 1905 (พ.ศ.2448) โดยนั่งแพไม้ไผ่เข้าไป อีก 90 ปีต่อมา คือ ในปี 2538 นักสำรวจจากฝรั่งเศสที่อ่านพบเรื่องราวเกี่ยวกับถ้ำสวยงามแห่งนี้เข้าจึงได้กลับไปเยี่ยมชมอีกครั้งทีมสำรวจใหม่ที่นำโดยนักสำรวจถ้ำ จอห์น พอลแล็ค ( Jo hn Pollack) เดินทางไปยังเซบั้งไฟในปี 2549 เก็บความประทับใจกลับไป จากนั้นได้ออกหาทุนเพื่อการสำรวจถ้ำทั้งระบบ ทีมของพอลแล็ค กลับไปยังถ้ำลอดเซบั้งไฟในเดือน ก.พ.ปีนี้ จัดทำแผนที่และเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายภาพเก็บความงดงามของระบบถ้ำ ที่มีความยาวรวมกันเป็นระยะทางถึง 9.5 กิโลเมตร และได้นำออกเผยโฉมอันงดงามภายในออกสู่สายตาชาวโลก

ทีมสำรวจเรียกบริเวณ "ห้องโถงใหญ่" แห่งนี้ว่า "มหาวิหาร" อันเนื่องจากความสูงกับด้านบนที่งามวิจิตร หัวหน้าทีมกล่าวว่าที่นี่เป็นถ้ำน้ำลอดใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง

ทุกสิ่งทุกอย่างในถ้ำลอดเซบั้งไฟล้วนใหญ่โตมหึมาน่าอัศจรรย์ยิ่ง





นักสำรวจในทีมยืนอยู่ต่อหน้าแท่งหินงอกมหึมาใกล้กับปากทางเข้า

นายพอลแล็ค กล่าวกับเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ว่า ที่นั่นมี "ห้องโถง" และพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาถ้ำแม่น้ำลอดในโลกนี้ ในขณะลำน้ำที่ไหลผ่านยังความงดงามน่าทึ่งความอลังการของถ้ำลอดแห่งนี้ เริ่มตั้งแต่ปากถ้ำอันกว้างใหญ่เชื้อเชิญผู้ไปพบเห็นให้เข้าเยี่ยมเยือน ภายในมีระบบที่สลับซับซ้อน รวมทั้งส่วนที่แคบที่สุดเป็นช่องขนาดแมงมุมขนาดใหญ่ลอดเข้าไปได้เท่านั้น"มันช่างได้รับการตบแต่งอย่างเป็นเลิศ พร้อมกับองค์ประกอบที่ดูละลานตายิ่ง" นายพอลแล็คกล่าว นายบ๊อบ ออสเบิร์น (Bob Osburn) ผู้ร่วมนำทีมสำรวจได้เป็นผู้จัดทำแผนที่ระบบถ้ำ และเดวิด บันเนล (Dave Bunnell) เก็บภาพอันสวยงามทั้งหมด บุคคลอื่นที่ร่วมทีมยังประกอบด้วยนักวิจัยชาวแคนาดา กับชาวอเมริกัน ชาติละ 4 คน ผู้นำทางชาวลาวกับผู้ช่วยงานอีกจำนวนหนึ่ง

คนร่างกายกำยำกลายเป็นคนแคระไปทันทีเมื่อยืนอยู่ท่ามกลาง "โขดหิน" มหึมาที่เกิดจากการทับถมของแคลไซต์มาชั่วนาตาปีจุดนี้อยู่ห่างจากปากถ้ำราว 3 กม.

แผ่นหินจากการทับถมของแคลเซียม สิ่งนี่เกิดขึ้นในฤดูฝนเมื่อเกิดน้ำท่วมขัง เมื่อน้ำแห่งไปก็จะเกิดการทับถมของมวลสารซ้ำแล้วซ้ำเล่า









การสำรวจครั้งนี้ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ เป็นผู้ออกทุน และใช้เวลาทั้งหมด 10 วันในอนุภูมิภาคอินโดจีน ยังมีถ้ำลอดที่สลับซับซ้อนในเขตวนอุทยานแห่งชาติฟงญา-แก๋บ่าง (Phong Nha-Ke Bang) ที่ครอบคลุมพื้นที่ จ.กว๋างบี่ง (Quang Binh) ไปจนถึง จ.เหงะอาน (Nghe An) ในภาคกลางตอนบนเวียดนามระบบถ้ำลอดแม่น้ำและถ้ำหินงอกหินย้อยทั้งหมดรวมระยะทางกว่า 60 กิโลเมตร ที่นั่นเป็นส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติในเขตวนอุทยานที่เวียดนามได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น