คนจีนรู้ไว้ใช่แบกหาม จะได้ไม่ทำวัฒนธรรมจีนนี้หายไปในสมัยเรา
เวลาที่เรากินก๋วยเตี๋ยว บะหมี่เกี๊ยว หรืออาหารจำพวกติ่มซำ โดยเฉพาะไปกินที่ร้านอาหาร
จีน ส่วนใหญ่ก็จะมีตะเกียบวางคู่เคียงมาให้ได้ใช้กัน แล้วรู้หรือไม่ว่า “ตะเกียบ”นั้นมีความเป็นมา
อย่างยาวนาน และยังมีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับตะเกียบอีกมากมายที่เกิดขึ้นจากชาวจีน
ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าจีนเริ่มใช้ตะเกียบจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก็ยอมรับกันโดยทั่วว่า
ชาวจีนเริ่มใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายในหลังยุคราชวงศ์ฮั่น (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3)
และวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบนี้ยังแพร่หลายไปยังอีกหลายประเทศ ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่ง
ก็มีการดัดแปลงและพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของตนเองไปด้วย
ในส่วนของวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบ รวมถึงข้อห้ามต่างๆ ก็มีอยู่หลายข้อ อาทิ
- การถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่
เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลาง
ชามข้าวเสมอ
- ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่
ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง
- ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ถ้าตักข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง
- ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่
เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า “ชางฉางเหลียงต่วน” ความหมาย
ตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย
จีน ส่วนใหญ่ก็จะมีตะเกียบวางคู่เคียงมาให้ได้ใช้กัน แล้วรู้หรือไม่ว่า “ตะเกียบ”นั้นมีความเป็นมา
อย่างยาวนาน และยังมีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับตะเกียบอีกมากมายที่เกิดขึ้นจากชาวจีน
ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าจีนเริ่มใช้ตะเกียบจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก็ยอมรับกันโดยทั่วว่า
ชาวจีนเริ่มใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายในหลังยุคราชวงศ์ฮั่น (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3)
และวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบนี้ยังแพร่หลายไปยังอีกหลายประเทศ ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่ง
ก็มีการดัดแปลงและพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของตนเองไปด้วย
ในส่วนของวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบ รวมถึงข้อห้ามต่างๆ ก็มีอยู่หลายข้อ อาทิ
- การถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่
เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลาง
ชามข้าวเสมอ
- ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่
ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง
- ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ถ้าตักข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง
- ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่
เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า “ชางฉางเหลียงต่วน” ความหมาย
ตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย
ดังนั้นการวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้น ๆ ยาว ๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ด
ขาด
- ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้ว
ชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น
- ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิด
เสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี
- ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอ
ความเมตตา เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน
- ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่
ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที
- ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อ
หาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ
ขาด
- ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้ว
ชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น
- ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิด
เสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี
- ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอ
ความเมตตา เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน
- ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่
ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที
- ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อ
หาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น